วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ที่มาของ google


กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็กGOOG และ LSEGGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม2550)[ต้องการอ้างอิงโดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) 
กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย [4] และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน[5] ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน
ประวัติ
ต้นกำเนิดกูเกิล

ป้ายต้อนรับหน้าบริษัทกูเกิลที่ กูเกิลเพล็กซ์
กูเกิลเริ่มก่อตั้งเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์ของ แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน นักศึกษามหาวิทยาลัยปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[6] จากสมมุติฐานของเสิร์ชเอนจินที่สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของของเว็บไซต์ มาจัดอันดับการค้นหาที่เรียกว่าเพจแรงก์โดยชื่อเสิร์ชเอนจินที่ตั้งมาในตอนนั้นชื่อว่า "แบ็กรับ" (BackRub) ตามความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการลิงก์ย้อนกลับไป (back links) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่มีเว็บไซต์อื่นลิงก์เข้ามาหามากที่สุด จะเป็นเว็บไซต์ที่มีความสำคัญสูงสุด และจะถูกจัดอันดับไว้ดีกว่า โดยทั้งคู่ได้ทดสอบเสิร์ชเอนจิน โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนพอร์ดในชื่อโดเมนว่า google.stanford.edu และต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทกูเกิล (Google Inc.) ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยใช้โรงจอดรถของเพื่อนที่เมืองเมนโรพาร์กเป็นสำนักงาน โดยในขณะนั้นมีพนักงาน 4 คนซึ่งรวมบรินและเพจ และชื่อโดเมน google.com ได้ถูกจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กันยายน ในขณะเดียวกันทั้งคู่ได้ลาพักการเรียน และใช้เวลาในการพัฒนาหาเงินทุนพัฒนาจากครอบครัว เพื่อนฝูง และนักลงทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงเช็กเงินจาก แอนดี เบกโทลไชม์ ผู้ก่อตั้งซันไมโครซิสเต็มส์
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 บริษัทได้ย้ายไปยังเมืองแพโลอัลโทที่ตั้งของบริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ซึ่งต่อมากูเกิลได้ย้ายบริษัทอีกครั้งไปยังเมืองเมาน์เทนวิว ไปยังสำนักงานใหม่ในชื่อเล่นว่ากูเกิลเพล็กซ์ ซึ่งในปี 2543 กูเกิลได้เปิดธุรกิจในส่วนโฆษณาในชื่อ แอดเวิรดส์ และ แอดเซนส์ โดยเป็นการโฆษณาผ่านคำค้นหา ซึ่งทำให้ข้อความโฆษณาตรงกับความต้องการของผู้ค้นหาเนื้อหาในเว็บไซต์ และสองส่วนนี้กลายมาเป็นธุรกิจหลักของกูเกิลร่วมกับตัวเสิร์ชเอนจิน
เดือนพฤษภาคม 2543 กูเกิลได้มีผู้ใช้งานค้นหาคำมากกว่า 18 ล้านคำต่อวัน ซึ่งกลายมาเป็นเซิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของโลก และในเดือนมีนาคม 2544 เอริก ชมิดต์ อดีตผู้บริหารบริษัทโนเวลล์ และผู้บริหารระดับสูงของซันไมโครซิสเต็มส์ได้เข้ามาร่วมงานกับกูเกิลในตำแหน่งประธานบริหาร
จัดตั้งบริษัทมหาชน
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน โดยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 19,605,052 หุ้นที่ราคา 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้นโดย 14,142,135 หุ้น (อ้างค่าทางคณิตศาสตร์ 2 1.4142135) ได้มีการเปิดขายแก่ประชาชนโดยกูเกิล และ 5,462,917 โดยผู้ถือหุ้นขาย หุ้นของกูเกิลในช่วงขายหุ้นครั้งแรกนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากกว่า 200% ในช่วงปิดตลาดหุ้นของวันแรกที่ได้ประกาศ (เปรีบเทียบกับ ไป่ตู้ เสิร์ชเอนจินของประเทศจีน มูลค่าเพิ่มขึ้น 354% ในช่วงปิดตลาดวันแรก วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548) และในวันที่ 31 ตุลาคม 2550 หุ้นกูเกิลได้ขึ้นไปสูงถึงราคา 700 ดอลลาร์สหรัฐ
กูเกิลอยู่ในตลาดหุ้นแนสแด็ก ในชื่อสัญลักษณ์ GOOG และในตลาดหุ้นลอนดอนในสัญลักษณ์ GGEA
ซื้อกิจการ
ตั้งแต่ปี 2544 กูเกิลได้เริ่มมีการซื้อบริษัทที่มีการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เข้ามา ตัวอย่างบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการซื้อได้แก่ บล็อกเกอร์พัฒนาโดยไพราแล็บส์แพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเขียนบล็อก ปีกาซาที่พัฒนาโดยไอเดียแล็บซอฟต์แวร์สำหรับดูไฟล์ภาพและวิดีโอ คีย์โฮลพัฒนาโดยบริษัทคีย์โฮลซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิลเอิร์ธ เออร์ชินเว็บแอปพลิเคชันในการวิเคราะห์สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแอนะลิติกส์ ไรต์รีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเอกสารสำนักงานออนไลน์ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของด็อกส์ สเก็ตช์อัปพัฒนาโดยแอตแลสต์ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสามมิติ ยูทูบเว็บไซต์ให้บริการแชร์วิดีโอออนไลน์ จอตสปอตเว็บไซต์สำหรับสร้างเว็บไซต์แนววิกิปัจจุบันใช้ชื่อไซตส์ ดับเบิลคลิกบริษัทให้บริการโฆษณาออนไลน์ ไจกุเครือข่ายสังคมออนไลน์ โมโตโรล่า โมบิลิตี้ บริษัท ผลิตอุปกรณ์การสื่อสาร
ความร่วมมือ
ตั้งแต่ปี 2548 กูเกิลได้เริ่มมีการร่วมมือกับบริษัทอื่นและหน่วยงานรัฐบาลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยกูเกิลได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยนาซ่าเอมส์ ในด้านการวิจัยระบบจัดการข้อมูล เทคโนโลยีนาโน และการสำรวจอวกาศ กูเกิลยังได้จับมือกับซันไมโครซิสเตมส์โดยได้แบ่งข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย กูเกิลได้ร่วมมือกับเอโอแอลของไทม์วอร์เนอร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบค้นหาวิดีโอออนไลน์ นอกจากนี้ทางบริษัทได้มีการลงทุนในส่วนของรหัสโดเมนบสุด .mobi ร่วมมือกับหลายบริษัทได้แก่ ไมโครซอฟท์ โนเกีย อีริกสัน
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น