วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติเทศกาลวันลอยกระทง


วันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันจันทร์
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 หรือ วันลอยกระทง นั่นเอง

ผมเชื่อว่าหลายคนมีประสบการณ์ในการลอยกระทง
ตามสถานที่ต่างๆมาก็คงมากมาย …ผมเองก็เช่นกัน
ในกรุงเทพฯนั้น เรานิยมไปลอยกระทงกันตามใต้สะพานสำคัญต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น สะพานพุทธ, สะพานแขวน, สะพานพระราม 8 เป็นต้น
บรรยากาศ แสงสี แสงไฟ นั้น สวยงามตระการตาทีเดียว
ปีนี้ก็เช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้มีการโปรโมทกันใหญ่โตเหมือนบางปี
แต่ก็เชื่อว่า ผู้คนคงจะคึกคักมากมายกันเช่นเคย
โดยเฉพาะเด็กๆ ดูจะตื่นเต้นและชอบวันลอยกระทงกันมาก
วัยหนุ่มสาว คู่รัก คู่ใหม่ทั้งหลายก็เช่นกัน
เพราะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้สานต่อความรักให้ยืนนาน
ท่ามกลางเทศกาลในบรรยากาศที่สุดแสนโรแมนติก
แต่ผมเชื่อว่า หลายคนถึงแม้จะไปลอยกระทงทุกปี
แต่อาจไม่รู้ว่า ประเพณีเทศกาลการลอยกระทงนั้น
มีประวัติความเป็นมาและจุดมุ่งหมายกันอย่างไร
รู้แต่เพียงว่า เป็นการขอขมาเจ้าแม่คงคา เท่านั้น
วันนี้จึงมีเรื่องราวอย่างย่อ ของประเพณีการลอยกระทง มาบอกกัน


ประวัติประเพณีการลอยกระทง
การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย
เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป
ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬา ลักษณ์สนมเอกของพระร่วง
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม
การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ
.
กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที
ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย

ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท
อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์

เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม)

น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน)

น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม)
ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง
ตำนานเรื่องเล่า 
ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง
เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา
เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์
หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น
การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี
อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็นลง
ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน
และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า
นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์
พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย
เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีป
เป็นรูปดอกบัวบานขึ้นซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา
นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง
งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า
เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย
ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า
งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน
กิจกรรมวันลอยกระทง
1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง
เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง
เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง
เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่ แม่น้ำลำคลอง
เราลอยกระทงกันเพื่ออะไร
1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
และบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง
อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต
นี่แหละครับ ประวัติย่อๆ ตำนานและกิจกรรมในวันลอยกระทง
ประเพณีไทยที่งดงามและมีคุณค่า มีความสวยงามตลอดมา  
วันลอยกระทงวันนี้คุณล่ะ มีนัดไปลอยกระทง....กับใคร ... หรือยัง?


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น